การรักษาโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งกับการรักษา

           โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย  โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติที่เกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ผ่านทางระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดของโรค  และชนิดของเซลล์มะเร็ง

มะเร็งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

           1.คาซิโนมา คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากผิวหนัง หรือ เนื้อเยื่อบุอวัยวะ

          2.ชาโคมา คือ  มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก กระดูกอ่อน  ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือด

          3.ลิวคีเมีย คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก  ทำให้มีความผิดปกติของเม็ดเลือด

          4.ลิมโฟมาและไมอีโลมา คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน

          5.ระบบสมองและไขสันหลัง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

          แพทย์ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามะเร็งในแต่ละบุคคลเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว  ข้อมูลในปัจจุบันพบว่า  มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โอกาสในการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้น

1.      อายุ ที่เพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น

2.    บุหรี่  มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด ,มะเร็งกล่องเสียง , มะเร็งช่องปากและลำคอ , มะเร็งหลอดอาหาร , มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ , มะเร็งไต , มะเร็งกระเพาอาหาร, มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งปากมดลูก

3.    แสงแดด หรือ แสงยูวี  สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งผิวหนัง

4.    รังสีในธรรมชาติ หรือเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์  แก๊วเรดอน หากได้รับปริมาณสูงเกินกำหนด  สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลูคิเมีย  มะเร็งไทรอยด์  มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาอาหาร

5.    สารเคมี

6.    เชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น  เอชพีวี ไวรัส , ไวรัสตับอักเสบบี ซี, ไวตัสเอชไอวี เป็นต้น

7.    การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน  สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม

8.    ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง  มะเร็งบางชนิดสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรม ที่เรียกว่า ยีนอย่างไรก็ดีมะเร็งที่ถ่ายทอดในครอบครัวพบได้เป็นสัดส่วนน้อย

9.    แอลกอฮอล์  สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ  มะเร็งทางอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งตับ  และมะเร็งเต้านม

10. วิถีการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่น การกินอาหารไขมันสูง สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก ความอ้วนหรือออกกำลังกายน้อย  สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม  มะเร็งลำไส้ใหญ่  มะเร็ง หลอดอาหาร  มะเร็งไต และมะเร็งโพรงมดลูก

อาการของโรคมะเร็ง

·      ตรวจพบการหนาตัวหรือก้อนที่ผิวหนังเต้านม หรือส่วนใด ๆ ของร่างกาย

·      ไฝเกิดขึ้นใหม่  หรือการเปลี่ยนแปลงของไฝเดิม เช่น ขยายขนาดโตขึ้น คันแตกเป็นแผล  เลือดออก

·      เจ็บปวดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเรื้อรง

·      เสียงแหบหรือไอเรื้อรัง

·      มีความเปลี่ยนแปลงในการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ  เช่น ปัสสาวะลำบาก  ปัสสาวะปนเลือด  ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง  อุจจาระลำบาก  อุจจาระปนเลือด  ปวดหน่วงทวารหนักเวลาขับถ่าย

·      มีความเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร เช่น กลืนติด กลืนลำบาก  กลืนเจ็บ  อิ่มเร็ว คลื่นไส้อาเจียน

·      การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก เช่น น้ำหนักลงมากโดยไม่มีสาเหตุอันควร

·      มีสารคัดหลั่งออกผิดปกติหรือเลือดออก เช่น ตกขาวผิดปกติ ตกขาวปนเลือด  เลือกออกทางช่องคลอดผิดปกติภายหลังจากมีเพศสัมพันธ์

             อาการดังกล่าว  อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็งเสมอไป  หากมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์  เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยให้แน่ชัด  โดยทั่วไปมะเร็งในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการเจ็บปวดอย่างเด่นชัด  หากมีอาการข้างต้นไม่ควรนิ่งเฉย  ควรพบแพทย์โดยเร็ว

 

การรักษาโรคมะเร็ง

             เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี  ทำให้วงการแพทย์ได้คิดค้นวิจัยการรักษาใหม่ ๆ  ออกมาเป็นตัวเลือกรักษาโรคมะเร็งในแต่ละอาการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งดังต่อไปนี้

             การผ่าตัด  เป็นเทคนิคการรักษาโรคมะเร็งดั้งเดิมที่ในปัจจุบันยังคงเป็นมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็งหลายชนิด

             การฉายรังสี  ถูกพัฒนามามากกว่า 100 ปีก่อน รักษาโรคมะเร็งโดยการใช้คลื่นเอกซเรย์ขนาดสูง หรือคลื่นกัมมันตรังสี  เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเซลล์มะเร็งโดยรังสีความเข้มสูงสามารถทำลายเซลล์ได้ถึงระบบ DND

            การใช้เคมีบำบัด หรือ คีโม  สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  โดยเรียกสารเหล่านั้นว่า  Cytotoxic  และการใช้สารดังกล่าว  เพื่อรักษาโรคมะเร็ง  เรียกว่า  เคมีบำบัด 

             การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน  เป็นการรักษาโรคมะเร็งโดยการให้ฮอร์โมนหรือสารบางชนิด  เพื่อไปยับยั้งฮอร์โมนที่ไม่พึงประสงค์

        นอกจากนั้นแล้วยังอาจเสริมด้วยวิธีธรรมชาติด้วยการรับประทานสมุนไพรแต่ต้องเลือกให้ดี เช่นมีส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานหรือปรับสมดุลร่างกายอีกด้วย

Visitors: 181,570