อาหาร ภัยใกล้ตัว
ป้จจุบันคนเราป่วยเป็นโรคต่างๆมากมาย คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเราล้วนแต่มีสารพิษ สารเคมีปะปนอยู่ทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เป็นตัวนำมาสารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดการป่วยคือ อาหารที่เราบริโภคเข้าไปนั่นเอง
ปัจจุบันอาหารนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เป็นตัวนำพาเอาสารพิษ สารเคมีเข้าสู่ร่างกายเรา สังเกตได้อย่างง่ายๆ อาหารที่เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปโดยทั่วไปจะมีสารเคมีน้อยกว่าเป็น เพราะขั้นตอนในการผลิตไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนส่วนในอาหารแปรรูปแต่ละขั้นตอนต้องผ่านการแต่งสี แต่งกลิ่น เติมสารกันบูด สารกันกลิ่นหืน ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เป็นสารที่ร่างกายไม่ต้องการแต่เป็นสารที่จำเป็นต้องเติมในขบวนการผลิตเพื่อให้อาหารที่ได้ออกมานั้นมีรสชาติอร่อย น่ารับประทาน สามารถเก็บไว้ได้นาน ยกตัวอย่าง เช่น อาหารหมักดอง
อาหารหมักดอง เช่น แตงกวาดอง ผักดอง หรือ เต้าหู้ยี้แม้จะมีรสชาติอร่อยและเก็บรักษาไว้ได้นาน แต่ในการทำอาหารหมักดองมักใช้เกลือปริมาณมาก มีโซเดียมสูง เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปจะทำให้เป็นความดันโลหิตสูง เป็นภาระต่อ หัวใจ และไต อาหารหมักดองยังยังมักเติมสารไนไตรต์ปริมาณมาก เกลือไนไตรต์ในกระเพาะอาหารจะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ วิตามินต่างๆที่อยู่ในผัก ในอาหารหมักดองจะค่อยๆสลายตัวไปตามระยะเวลาในการหมักดอง และการเก็บรักษาลดคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ดังนั้นอาหารหมักดองจึงมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าผักผลไม้สด
อาหารแปรรูป เช่นไส้กรอก แหนม กุนเชียง ก็นับเป็นอาหารอีกประเภทที่เรามักนิยมซื้อเป็นของฝาก อาหารประเภทนี้ผู้ผลิตจะใส่สารไนเตรท ไนไตรท์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ดินประสิว ลงไป เพื่อให้เนื้อมีสีชมพู และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อคลอสทิเดียม โบทูลินัม หากบริโภคอาหารที่มีปริมาณไนเตรท ไนไตรท์สูงอาจทำให้มีอาการปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าได้รับจำนวนมากจะเกิดอาการปวดท้องและกล้ามเนื้อไม่มีแรง และ การรับประทานอาหารประเภทนี้ติดต่อกัน จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
อาหารที่ผ่านการแปรรูปมากจะยิ่งมีปริมาณสารพิษสารเคมีมาก จริงหรือไม่ เราลองมาดูกัน ลองเปรียบเทียบกระบวนการผลิตอาหาร ตั้งแต่เริ่มเลย เช่น ไส้กรอกเริ่มจากวัตถุดิบคือ หมู
- วัตถุดิบ : ในขั้นตอนนี้ เริ่มจากหมูกินอาหารสัตว์ที่มีสารเคมีผสมในอาหารสัตว์และสารเร่งสี สารเร่งเนื้อแดง เช่น เคลนบิวเตอรอล (clenbuteral) และ ซัลบูตามอล (salbutamol) มาใส่ในอาหารสำหรับเลี้ยงหมู ซึ่งสารนี้จะตกค้างในเนื้อหมู และสะสมมาทำอันตรายต่อผู้บริโภคสำหรับผู้บริโภค อันตรายจากการบริโภคเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์ทื่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
- ขั้นตอนการผลิตอาหารแปรรูป : ในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำเนื้อหมูมาผลิตเป็นไส้กรอก ในขั้นตอนนี้ มีการเติม การกันบูด สารไนเตรท ไนไตรท์ เพื่อให้เนื้อมีสีชมพู และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย แต่ทำให้เกิดมะเร็งได้
- ขั้นตอนการปรุง : การปรุง เช่น การปิ้งย่าง การนำไส้กรอกมาย่าง ก็จะทำให้เกิดสารPolycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้
จะเห็นได้ว่าในขั้นตอนการผลิตอาหารที่มีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากมีโอกาสที่จะมีสารพิษ สารเคมีมาก เช่นที่กล่าวมา หากเรานำเนื้อหมู มาทำผัดผักแทนที่จะ รับประทานเป็นไส้กรอกย่าง ที่มีส่วนผสมของเนื้อหมูแปรรูป ก็จะไม่ได้รับสารก่อมะเร็งที่มาจากขั้นตอนการผลิตและการปิ้งไส้กรอกได้ อย่างไรก็ตาม รับประทานอาหารจากเนื้อหมู ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอกย่าง หรือ ผักผักใส่หมู ก็อาจยังคงได้รับสารเคมีที่ตกค้างในเนื้อหมู แต่หากเราบริโภคไม่มาก ในปริมาณที่พอเหมาะ สารเคมีที่ได้รับก็จะน้อย และพยายามรับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายไม่ได้รับสารเคมีตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป จนทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้
นอกจากนั้นแล้วการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่ปลอดสารเคมี เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ครบถ้วน หรือ ดื่มยาน้ำสมุนไพรฮั้วลักเซียมเป็นประจำเพื่อปรับสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกายและ ออกกำลังกายอยู่เสมอ ทำใจให้เบิกบาน จะช่วยให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีเป็นการช่วยป้องกันโรคอีกทางหนึ่งด้วย แล้วพบกันใหม่กับบทความดีๆ ที่ www.loveyou-thailand.com เท่านั้น