โรคข้อเข่าเสื่อม และการรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อม

        เรามักเคยได้ยินคนแก่หรือคนสูงอายุ พูดกันบ่อยๆ ว่า “ปวดเข่าจังเลย” จะลุกจะนั่งก็ลำบาก ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการยืนหรือเดิน ยิ่งไกลๆ ด้วยแล้วผู้คนกลุ่มนี้จะส่ายหน้าหนีทันที วันนี้เราจะมาดูกันว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากอะไร และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

        โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากภาวะที่มีการเสื่อมของข้อ เกิดจากการใช้งานมานาน เมื่อเกิดความเสื่อมของข้อ ร่างกายจะปรับตัวโดยสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ ทำให้มีการงอกของกระดูกเกิดขึ้น นอกจากนั้น กระดูกอ่อนซึ่งอยู่บริเวณข้อต่อจะมีการสึกหรอในระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว และหากมีการอักเสบจะทำให้มีน้ำมาหล่อเลี้ยงบริเวณข้อเข่ามากขึ้น จะทำให้มีอาการบวม ปวด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บข้อเวลาเดินและอาจมีเสียงก๊อกแก๊กจากการเสียดสี มักเกิดกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ

 

        โรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการอย่างไร ?

-      ปวดเข่า

-      ข้อเข่ายึดติด ไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด

-      หากเกิดการอักเสบจะมีอาการบวมที่ข้อเข่า

-      ขณะเคลื่อนไหวอาจมีเสียงจากการเสียดสี

-      เกิดกระดูกโก่งหรืองอ

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม

-       อายุที่มากขึ้นมีโอกาสทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้มากขึ้น

-      น้ำหนักตัวที่มาก ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น

-      ในผู้หญิงจะพบโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย

-      ท่านั่ง การนั่งยองๆ หรือพับเพียบจะทำให้เกิดข้อเข่าเเสื่อมได้มากกว่า

 

การป้องกันและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเสริมสร้างให้ข้อเข่าแข็งแรง
  2. ลดน้ำหนักตัวเพื่อลดแรงกดทับซึ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมช้าลง
  3. การรับประทานยาแก้ปวด

 

การทานยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการปวดได้ เพียงชั่วคราวเท่านั้น พอยาหมดฤทธิ์ อาการปวดก็กลับมาเป็นอีก ทำให้ผู้ป่วยต้องทานยาอีก ซึ่งเมื่อเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งยาในกลุ่มแก้ปวดนี้ มักเป็น(Diclofenac),ไอบูโปรเฟน (Ibuproofen) ซึ่งการรักษาเช่นนี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น และทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่มนี้ เช่น ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดอาการแผลในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นแพทย์จึงต้องจ่ายยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารตามมาอีก เช่น โอมีพราโซล (omeprazole), แพนโตพราโซล (pantoprazole), ราบีพราโซล (rabeprazole) หรือจ่ายยาลดกรด (antacid) ตามมา จะเห็นได้ว่าเพียงเพื่อรักษาอาการปวดข้อเข่า เราต้องได้รับยาอย่างน้อย 2 ตัว คือ ยาบรรเทาอาการปวด และยาลดการเกิดแผลในกระเพาะ(เพื่อลดผลข้างเคียงจากยาแก้ปวด) เป็นการได้รับยาเกินความจำเป็นทั้งที่แม้เราจะรับประทานยาแก้ปวดดังกล่าว อาการปวดก็มิได้หายไปอย่างถาวร มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ หรือไม่ การรับประทานยาสมุนไพรก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อย่างไรก็ตามการเลือกยาสมุนไพรก็ต้องระวัง เพราะบางตัวอาจผสมสารสเตียรอยด์ที่ทำให้เกิดผลเสียแก่ร่างกายตามมาได้

ยาน้ำสมุนไพรฮั้วลักเซียมประกอบด้วย สมุนไพร 99 ชนิด ช่วยฟื้นฟู บำรุง ปรับสมดุลร่างกายจากความเสื่อมต่างๆ ฟังเรื่องราวผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมได้ที่นี่

Visitors: 181,548